ปีงบ | โครงการ/บทบาท | แหล่งทุน/สถานะ | ช่วงเวลา |
---|---|---|---|
2561 | เทคนิคการวิเคราะห์ตัวชี้วัดภาวะวิตามินเอในมนุษย์ ที่มา/ ความสำคัญที่ต้องไปทำวิจัย การไปทำวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาประสิทธิผลของข้าวเสริมวิตามินเอในหญิงไทยให้นมบุตร ( Efficacy of vitamin A fortified rice in lactating Thai women) ” โดยได้รับทุนสนับสนุนบางส่วนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ International Atomic Energy Agency (IAEA) ซึ่งสนับสนุนงบประมาณในการเก็บข้อมูลภาคสนามและการทำ intervention รวมถึงค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย งานวิจัยนี้ได้รับความร่วมมือทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญด้านวิตามินเอ 2 ท่านคือ รศ.ดร. เอมอร อุดมเกษมาลี (สถาบันโภชนาการ ม. มหิดล) และ Prof. Dr. Sherry Tanumihardjo (University of Wisconsin-Madison, USA) โดย รศ.ดร. เอมอร อุดมเกษมาลี เป็นผู้จัดหาทุนจาก IAEA และ Prof. Dr. Sherry Tanumihardjo เป็นผู้สนับสนุนด้านเทคนิคการใช้ stable isotope (C13) ในการประเมินภาวะวิตามินเอซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งของโลกและเป็นผู้จัดหา stable isotope ในการวิจัยนี้ การประเมินภาวะวิตามินเอที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากที่อาสาสมัครได้รับข้าวเสริมวิตามินเออย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 14 สัปดาห์จะทำโดยการวิเคราะห์ stable isotope ในตัวอย่างเลือดเพื่อที่จะนำมาคำนวณหาปริมาณวิตามินเอในตับซึ่งถือว่าเป็น “Gold standard ”และเป็นเทคนิคใหม่ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบันในการประเมินภาวะวิตามินเอ ร่วมกับตัวชี้วัดตัวอื่นๆ ได้แก่ serum retinol, breastmilk retinol โดยห้องปฏิบัติการของ Prof. Dr. Sherry Tanumihardjo มีเครื่องมือ เทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ และสามารถสังเคราะห์ stable isotope C13 เพียงแห่งเดียวในโลก ณ. ปัจจุบัน ซึ่งผู้วิจัยจะได้รับการฝึกปฏิบัติเทคนิคการวิเคราะห์ serum retinol, breastmilk retinol และ stable isotope และพร้อมทั้งจะได้นำตัวอย่างเลือด 250 ตัวอย่างของอาสาสมัครที่ได้จากการ intervention ไปวิเคราะห์หา stable isotope (ซึ่งเป็น outcome หลักของงานวิจัยนี้) และ serum retinol ด้วย ในช่วงระยะเวลา 2 เดือนระหว่าง กรกฎาคม – สิงหาคม 2561 2. วัตถุประสงค์ 2.1. เพื่อวิเคราะห์ stable isotope C13 และ serum retinol ที่ได้จากการ intervention จากงานวิจัยเรื่องการศึกษาประสิทธิผลของข้าวเสริมวิตามินเอในหญิงไทยให้นมบุตร โดยเครื่อง Gas chromatography comb บทบาท: หัวหน้าโครงการ | เงินรายได้มหาวิทยาลัย ทุนสนับสนุนกิจกรรมการวิจัย ณ ต่างประเทศ | 01-07-2018, 31-08-2018 |
2561 | ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการร่วมกับการรับประทานยา Ferrous sulfate และ Triferdine (ยาบำรุงเลือด) ต่อภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ Effect of nutrition promotion program together with ferrous sulfate and triferdine supplementation on anemia in pregnant women บทบาท: หัวหน้าโครงการ | เงินรายได้คณะ/หน่วยงาน ศูนย์วิทยาศาสตร์อาหารฮาลาล วทท. (ทุนสนับสนุนงานวิจัยระดับปริญญาตรี) | 01-05-2018, 31-10-2018 |
รวม 2 รายการ 0 บาท* |
Copyright ©2021-2022 by Faculty of Science and Technology
Prince of Songkla University, 181 Rusamilae Meaung Pattani, 94000
Tel: 073-331303 Email: sat-it@psu.ac.th